วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

พบ ‘แบคทีเรีย’ เก่าแก่ที่สุดในโลก 5 พันล้านปี ก่อนที่โลกจะมีออกซิเจนซะอีก

นักวิจัยพบ ‘ฟอสซิลแบคทีเรีย’ ในแอฟริกาใต้ ที่สามารถสืบค้นอายุได้กว่า 2.52 พันล้านปี หรือก่อนที่โลกจะมีออกซิเจนในชั้นบรรยากาศเสียอีก แทนที่มันจะต้องการออกซิเจน (ซึ่งในยุคนั้นไม่มี) เหมือนสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อื่นๆ แบคทีเรียรุ่นบุกเบิกกลับใช้กำมะถัน หรือ ‘ซัลเฟอร์’ ในการดำรงชีวิต ซึ่งตอกย้ำข้อสันนิฐานว่า สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่บนโลกได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนเพียง 1 ใน 1000 หากเทียบกับปัจจุบัน
ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Cincinnati พบว่า เจ้าแบคทีเรียใช้ซัลเฟอร์ในการทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน มีขนาด ‘ใหญ่เบิ้ม’ พอสมควร แม้มันจะอยู่ในสภาวะไร้ออกซิเจนก็ตาม โครงสร้างคล้ายแบคทีเรียปัจจุบันที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Thiomargarita namibiensis ซึ่งมีขนาด 750 ไมครอน (0.75 มิลลิเมตร)
และสามารถยืนยันได้ว่า สิ่งมีชีวิตแรกๆ อย่างแบคทีเรียมีชีวิตอย่างน้อย 2.52 พันล้านปี ทำให้พวกเรามีความหวังที่จะพบ ‘สิ่งมีชีวิต’ บนดวงดาวอื่น แม้จะไม่มีออกซิเจนอยู่ก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น